
คุณผู้หญิงหลายคนคงเกิดข้อสงสัยกันใช่ไหมว่า ถ้าเรา อยากตรวจการตั้งครรภ์ จะสามารถทำได้อย่างไรบ้าง สาเหตุที่ทำให้อยากตรวจ ส่วนใหญ่มากจากอาการที่บ่งบอบอกว่าอาจจะท้อง เช่น ปวดศีรษะ, คลื่นไส้, อาเจียน และประจำเดือนขาด เป็นต้น แต่อาการดังกล่าวก็ใช่ว่าจะเป็นการตั้งท้อง 100% ไปซะทีเดียว อาจเกิดจากความผิดปกติของร่างกาย หรือฮาร์โมนที่เปลี่ยนไป แต่อาจจะไม่ได้ท้องก็ได้ ดังนั้นวิธีที่ชัวร์ที่สุด ก็คือการตรวจนั่นเอง
สามารถ ตรวจการตั้งครรภ์ ได้จากอะไรบ้าง?
วิธี ตรวจการตั้งครรภ์ สามารถทำได้หลากหลายวิธี ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความสะดวกในการตรวจและค่าใช้จ่ายอีกด้วย วันนี้เราจะมาให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีตรวจครรภ์ มาดูกันเลย
- ตรวจด้วยปัสสาวะ วิธีนี้ถือว่าเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด เพียงแค่นำปัสสาวะมา ตรวจครรภ์ ในชุดทดลองและรอผลตรวจ ชุดทดลองนั้นแสดงผลขีด สีแดง 1 ขีด นั่นหมายความว่า ไม่ท้อง แต่ถ้าขึ้น สีแดง 2 ขีด ก็แสดงว่าท้อง ซึ่งการหาซื้อชุดทดสอบการตั้งครรภ์ก็ง่ายมาก เพราะมีตามร้านขายยาทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นแบบจุ่ม, แบบหยด หรือ แบบปัสสาวะผ่าน ก็สามารถเลือกซื้อมาตรวจได้ตามความสะดวกและความเหมาะสมของค่าใช้จ่าย
- ตรวจด้วยเลือด วิธีนี้จะเป็นการหาระดับฮอร์โมน HCG เพราะฮอร์โมนนี้สามารถตรวจพบว่าตั้งครรภ์ได้ตั้งแต่ 2 สัปดาห์ เป็นต้นไปหลังจากมีการปฏิสนธิ และการแสดงผลนั้นแม่นยำมาก แต่ข้อเสียของวิธีนี้ก็คือมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง จึงไม่นิยมในการตรวจเท่าไหร่ แต่ในทางการแพทย์จะใช้วิธีนี้กับกรณีที่มีลูกยาก หรือ คุณแม่ที่แท้งบ่อยๆ
- ตรวจโดยการวัดคลื่นเสียงความถี่สูง หรือ อัลตราซาวนด์ (Ultrasound) วิธีนี้ต้องอาศัยเครื่องมือในการส่งคลื่นที่มีความถี่สูงกระจายไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ และมีเครื่องรับคลื่นที่สะท้อนกลับมา จากนั้นเครื่องมือนี้จะทำการเปลี่ยนเป็นภาพบนจอทีวี ทำให้สามารถมองเห็นเป็นภาพได้ ซึ่งการตรวจตั้งครรภ์ด้วยวิธีนี้จะสามารถตรวจได้ตั้งแต่เริ่มมีการตั้งครรภ์ได้
- การตรวจหาการเต้นของหัวใจทารก วิธีนี้สามารถทำได้เมื่อคุณแม่มีอายุการตั้งครรภ์ประมาณ 17-19 สัปดาห์ สามารถตรวจโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และมีเครื่องมือในการตรวจ คือ หูฟัง (Stethoscope) ตรวจฟังเสียงการเต้นของหัวใจทารก

เมื่อตรวจแล้วพบว่าท้อง ควรทำอย่างไร?
หลังจากที่คลายข้อสงสัยว่าตนเองท้องหรือไม่ จากวิธี ตรวจการตั้งครรภ์ แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการปฏิบัติให้ถูกวิธี เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณแม่และลูกน้อย ดังนี้
- หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ควันบุหรี่ หรือ งดสูบบุหรี่ และ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อให้ลูกน้อยได้เติบโตอย่างสมบูรณ์ แข็งแรง
- หลีกลี่ยงอาหารบางชนิดที่อาจส่งผลต่อลูกน้อยในท้องได้ เช่น ชีส, เนื้อสัตว์บางชนิด และปลาดิบ เป็นต้น
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อาจเลือกการเล่นโยคะ ก็ถือเป็นการออกกำลังกายที่เหมาะกับการตั้งครรภ์มาก เพราะไม่ต้องออกแรงมาก แต่เน้นการ่อนคลาย และผสานสมดุลในร่างกาย
- พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่หักโหมทำงานหนัก หรือนอนดึกจนเกินไป
- หมั่นหาความรู้เกี่ยวกับการดูแลลูกในท้อง
- ไปพบแพทย์เพื่อ ตรวจครรภ์ อย่างสม่ำเสมอ เพราะเป็นอีกวิธีที่ทำให้ทราบว่าลูกน้อยสุขภาพแข็งแรงหรือไม่ และหากพบว่ามีปัญหาก็สามารถเริ่มรักษาได้ทันที และเป็นการลดความเสี่ยงต่อสุขภาพที่ไม่แข็งแรงของลูกด้วย