
เมื่อถึงเวลาที่คุณแม่ควร ฝากครรภ์ รู้หรือไม่ว่าควรฝากก่อนอายุครรภ์ 3 เดือน เพราะเป็นช่วงที่ร่างกายจะสร้างอวัยวะต่างๆ ที่สำคัญการป่วยไข้ การกินยา จะมีผลต่อลูกในครรภ์ได้
เตรียมตัวอย่างไรในการ ฝากครรภ์
สิ่งที่ต้องเตรียมสำหรับการ ฝากครรภ์ ได้แก่
- เอกสารสำหรับฝากครรภ์ คือ บัตรประจำตัวประชาชน เผื่อไว้สำหรับทำประวัติที่โรงพยาบาล
- ประวัติทัวไปของแม่ ได้แก่
– ปัญหาสุขภาพของคุณแม่ ว่ามีโรคประจำตัวอะไรหรือไม่
– ประจำเดือนครั้งสุดท้ายมาเมื่อไหร่
– ประวัติการคุมกำเนิด
– อาการแพ้ท้อง หากคุณมีอาการแพ้ควรเล่าอาการเหล่านั้นให้คุณหมอฟัง
– ประวัติการเจ็บป่วยของแม่และคนในครอบครัว
– ประวัติการฉีดวัคซีน
– ประวัติการใช้ยา
– ประวัติการแพ้ยา
– ประวัติอุบัติเหตุ
– ประวัติการผ่าตัด
ต่อมา ให้เตรียมคำถามเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติหลังจาก ฝากท้อง อาจจะถามดังนี้
- ครบรอบกำหนดคลอดคือเมื่อไหร่?
- ควรกินอะไร หรือ ห้ามกินอะไรบ้าง?
- ยาชนิดใดอันตรายต่อเด็กในครรภ์และควรรับประทานยาชนิดไหนเพื่อเป็นการเสริมสร้างการเจริญเติบโตของเด็ก
- มีสวัสดิการหรือสิทธิอะไรบ้างที่เป็นประโยชน์ต่อคุณแม่เมื่อมาคลอดที่โรงพยาบาลหรือมาตรวจที่โรงพยาบาลนี้?
- ถ้าจะคลอดควรคลอดเองหรือผ่าตัดดี?
เมื่อมาถึงที่ฝากคุณหมอจะตรวจร่างกายแม่ ดังนี้
- ชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงค่ะคุณแม่มีส่วนสูงน้อยกว่า 145 เซนติเมตรจะมีเส้นกลางเล็กขนาดของลูกในครรภ์กับเชิงกลางไม่ได้สัดส่วนการทำให้คลอดเองลำบากคุณหมอก็จะแนะนำ ให้ผ่าตัด
- ตรวจปัสสาวะหากปัสสาวะของแม่มีสีน้ำตาลจะแสดงว่าคุณแม่มีโรคเบาหวานต้องทำการเจาะเลือดเพื่อตรวจเบาหวานต่อไป
- วัดความดันโลหิตของแม่หากมีความดันโลหิตสูงผิดปกติอาจจะอยู่ในจุดที่เรียกได้ว่า ครรภ์เป็นพิษแต่หากโลหิตต่ำก็ไม่มีปัญหาอะไร
- ตรวจสุขภาพช่องปาก หากพบว่าฟันของแม่ผุต้องรีบอุดโดยทันที เพราะเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดอาการอักเสบเรื้อรังอาจจะส่งผลถึงอวัยวะต่างๆ ที่ทำให้อักเสบตามไปด้วย
- ตรวจต่อมไทรอยด์ของแม่ผู้หญิงมีครรภ์โดยปกติจะมีต่อมไทรอยด์ที่โต แต่หากพบว่าโตมากกว่าปกติ แสดงว่าไทรอยด์เป็นพิษได้
- ฟังเสียงหัวใจและปอดหากพบว่าผิดปกติคุณหมอจะทำการให้คำปรึกษาและวินิจฉัยต่อไป
แม่จะได้อะไรหลังฝากแล้ว
หลังจากที่คุณหมอทำการซักประวัติและตรวจร่างกายคุณแม่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผลตรวจต่างๆ จะถูกบันทึกลงในสมุด ฝากครรภ์ หรือใบ ฝากท้อง นั่นเอง ข้อแนะนำ คุณแม่ควรพก เอกสารสำหรับฝากครรภ์ เพราะในทุกๆ ครั้งที่ต้องอยู่ในภาวะฉุกเฉิน ต้องลงบันทึก สถานการณ์ต่างๆ และเพื่อเป็นความสะดวกในการดูแลรักษาครรภ์ต่อไป